ระบบฐานข้อมูลหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
  Home > เพิ่มข้อมูลงานวิจัย
 

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบระบบจัดการฟาร์มอัจฉริยะ ด้วยอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง (Internet of Things)

 
   
ผู้วิจัย
1. ผศ.พัฒนศักดิ์  ปทุมวัน
2. อาจารย์ขนิษฐา คนกล้า
ชื่อโครงการวิจัย (EN)
The Research Project to Develop Smart farm Platform by Internet of Things
ปีงบประมาณ
2560
งบประมาณ
700,000.00
แหล่งทุน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ประเภททุนวิจัย
การวิจัยประยุกต์
สาขาการวิจัย
สาขาสังคมวิทยา
บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รวบรวมข้อมูล และสำรวจความต้องการในการใช้งานอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT) ภายในฟาร์มปศุสัตว์รวมถึงความต้องการใช้งานฟังก์ชันการทำงานของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีต้นแบบระบบจัดการฟาร์มอัจฉริยะ ด้วย IoT และพัฒนาระบบจัดการฟาร์มอัจฉริยะด้วย IoT

กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรที่ประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์ 160 คน แบ่งเป็น จังหวัดชัยภูมิ 23 คน จังหวัดนครราชสีมา 29 คน จังหวัดบุรีรัมย์ 47 คน จังหวัดยโสธร 1 คน จังหวัดศรีสะเกษ 28 คน จังหวัดสุรินทร์ 1 คน และจังหวัดอุบลราชธานี 31 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ สัมมนา และแบบสอบถาม มีขั้นตอนการดำเนินงาน 1) ติดตั้งในฟาร์มต้นแบบเพื่อประเมินผลการทำงาน 2) ประเมินประสิทธิภาพและหาความน่าเชื่อถือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3) อบรมการใช้งานระบบจัดการฟาร์มอัจฉริยะให้กับเกษตรกรเพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้งานและประสิทธิภาพ

ผลจากการวิจัยในประเด็นหลักสรุปได้ว่า 1) เกษตรกรมีความต้องการนำ IoT มาใช้งานในฟาร์มปศุสัตว์ 2) ระบบจัดการฟาร์มอัจฉริยะ ประกอบไปด้วย การจัดการโรงเรือนอัจฉริยะ เครื่องชั่งน้ำหนักอัตโนมัติ และการจัดการน้ำในแปลงพืชอาหารสัตว์ทำได้ตามฟังก์ชันการทำงานที่เกษตรกรต้องการ 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพและหาความน่าเชื่อถือจากผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับดี ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานและประสิทธิภาพจากเกษตรอยู่ในระดับดี

Abstract

The objective of research for studied about information gather and survey about necessary of Internet of things or IoT and necessary of livestock with hardware and software function for innovation Original innovation development of smart farm by IoT system and develop management of smart farm system by IoT

Group of simple were 160 farmers who was the livestock, 23 farmers in Chaiyapoom province , 29 farmers in Nakornratchasima province , 47 farmers in Burirum province , 1 farmers in Yasotorn province , 28 farmers in sisaket province , 1 farmers in surin province and 31 farmers in Ubonratchathani province.  Tools of in formation gather were interview , meeting and Questionars 3 step if work. 1) Set in original farm for evaluate of working. 2) Performance evaluate and reliability by professor. 3) Working training of smart farm system to farmers for performance evaluate and farmer’s statisfied

Result of research were 1. Farmers want IoT to help work in their farms.  2. Smart farm system function were the management of smart barn , automatic weigh scale and management of water convert plants food for animals in function 3. Result of performance evaluate and reliability by professor was good  Result of performance evaluate and satisfied by professor was good.

 
แสดงข้อมูลกิจกรรมการวิจัย
No.
กิจกรรม
รายละเอียด
วันที่
ไฟล์
... ไม่มีข้อมูล ...