ระบบฐานข้อมูลหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
  Home > เพิ่มข้อมูลงานวิจัย
 

การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการพยากรณ์ความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ โดยเทคนิคเหมืองข้อมูล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

 
   
ผู้วิจัย
1. ผศ.พัฒนศักดิ์  ปทุมวัน
2. อาจารย์ขนิษฐา คนกล้า
ชื่อโครงการวิจัย (EN)
eveloping Information system for forecasting of the diabetes and Hypertension risk of elderly people by using data mining
ปีงบประมาณ
2559
งบประมาณ
300,000.00
แหล่งทุน
สำนักวิจัยแห่งชาติ (วช)
ประเภททุนวิจัย
การวิจัยประยุกต์
สาขาการวิจัย
สาขาสังคมวิทยา
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้สูงอายุเมื่ออยู่ในช่วงอายุวัยทำงาน ที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงผลทางด้านสุขภาพเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ เพื่อนำไปสร้างตัวแบบในการพยากรณ์ความเสี่ยงของผลทางด้านสุขภาพ โดยใช้ข้อมูลพฤติกรรมในวัยทำงานของประชากรผู้สูงอายุกับผลทางด้านสุขภาพเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล และนำตัวแบบไปสร้างระบบสารสนเทศการพยากรณ์ความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน รวมถึงผลทางด้านสุขภาพ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ที่ทำงานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บบราเซอร์ และสามารถรองรับการทำงานบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

ผลจากการวิจัยพบว่าการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ประชากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 417 คน ที่อาศัยภายในเขตอำเภอเมือง ในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ มุกดาหาร ยโสธร และอำนาจเจริญ โดยเก็บข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลด้านสุขภาพ ณ ปัจจุบัน และข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพในช่วงอายุวัยทำงานของผู้สูงอายุ มีผลสรุปดังนี้ จากผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมดเป็นโรคเบาหวาน 79 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.94 ในกลุ่มที่เป็นโรคเบาหวานพบว่าเป็นเบาหวานตอนโต (เบาหวานที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน) 39 ราย คิดเป็นร้อยละ 49.37 เป็นเบาหวานตั้งแต่เด็กหรือตั้งแต่เกิด (เบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลิน) จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.80 และไม่ทราบชนิด 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 49.37 และจากผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมดเป็นโรคความดันโลหิตสูง 142 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.05 ในกลุ่มที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงพบว่าเป็นแบบทุติยภูมิ (ความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุที่แน่นอน ชัดเจน ตรวจหาสาเหตุได้) 61 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.96 เป็นความดันโลหิตสูงแบบปฐมภูมิ (ความดันโลหิตสูงที่เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด) 34 รายคิดเป็นร้อยละ 23.94 และไม่ทราบแบบ 47 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.10 และพบว่าเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 55 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.19 จากจำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด จากข้อมูลที่ได้นำไปสร้างตัวแบบด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวแบบ ดังนี้ 1) ตัวแบบการพยากรณ์ความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน พบตัวแบบช่วงอายุ 15-44 ปี ในกลุ่มชุดข้อมูลเพศชายมีค่าความถูกต้องของโมเดลโดยรวมทุกคลาสเท่ากับ 81.99% +/-11.19% ความแม่นยำของโมเดลพบว่าตัวแบบช่วงอายุ 15-54 ปี และตัวแบบช่วงอายุ 15- 60 ปี ในกลุ่มชุดข้อมูลทั้งหมด มีค่าความแม่นยำอยู่ที่ 100% ความถูกต้องของโมเดลพบว่าตัวแบบในช่วงอายุ 15-34 ปี ในกลุ่มชุดข้อมูลเพศหญิงมีค่า 7.36% +/-14.96% และตัวแบบดังกล่าวมีค่าความแม่นยำและความถูกต้องของโมเดลสูงที่สุดคือ 14.04% 2) ตัวแบบการพยากรณ์ความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานชนิดใด กรณีเป็นโรคเบาหวาน พบตัวแบบช่วงอายุ 15-54 ปี และตัวแบบช่วงอายุ 15-60 ปี ในกลุ่มชุดข้อมูลเพศหญิง มีค่าความถูกต้องของโมเดลโดยรวมทุกคลาสอยู่ที่ 96.67% +/-10.00% และทั้งสองตัวแบบมีความแม่นยำของโมเดลสูงสุดอยู่ที่ 96.55 สำหรับความถูกต้องของโมเดลตัวแบบที่มีค่าสูงที่สุดคือตัวแบบช่วงอายุ 15-34 ปี และ 15-44 ปี ในกลุ่มชุดข้อมูลเพศหญิง มีความถูกต้องของโมเดลอยู่ที่ 11.67% +/-18.33% และเป็นตัวแบบที่มีความแม่นยำและความถูกต้องของโมเดลสูงที่สุดคือ 10.34% 3) ตัวแบบการพยากรณ์ความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและการเกิดโรคความดันโลหิตสูง กรณีเป็นโรคเบาหวาน ตัวแบบที่มีค่าความถูกต้องของโมเดลโดยรวมทุกคลาสสูงสุดคือตัวแบบช่วงอายุ 15-34 ปี มีค่าความถูกต้องของโมเดลโดยรวมทุกคลาสอยู่ที่ 93.00% +/-10.77% และมีค่าความแม่นยำของโมเดล 92.86% 4) ตัวแบบการพยากรณ์ความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ตัวแบบที่มีค่าความถูกต้องของโมเดลโดยรวมทุกคลาสสูงสุดอยู่ที่ 75.59% +/-10.20% ความถูกต้องของโมเดลอยู่ที่ 15.36% +/-16.01% และความแม่นยำและความถูกต้องของโมเดลอยู่ที่ 25.00% คือตัวแบบช่วงอายุ 15-34 ปี ในกลุ่มชุดข้อมูลเพศชาย และตัวแบบที่มีค่าความแม่นยำของโมเดลสูงที่สุดคือ ตัวแบบช่วงอายุ 15-44 ปี และ15-54 ปี มีค่าความแม่นยำอยู่ที่ 100% 5) ตัวแบบการพยากรณ์ความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูงแบบใด กรณีเป็นโรคความดันโลหิตสูง พบตัวแบบที่มีค่าความถูกต้องของโมเดลโดยรวมทุกคลาสสูงสุดอยู่ที่ 75.71% +/-15.31% และ 75.71% +/-23.20% ในตัวแบบช่วงอายุ 15-34 ปี และ 15-60 ปี ในกลุ่มชุดข้อมูลเพศหญิงตามลำดับ และทั้งสองตัวแบบข้างต้นมีความแม่นยำของโมเดลสูงสุดอยู่ที่ 78.81% +/-24.29 ความถูกต้องของโมเดลพบค่าสูงสุดในตัวแบบช่วงอายุ 15-54 ปี กลุ่มชุดข้อมูลทั้งหมดโดยมีค่าความถูกต้องของโมเดลอยู่ที่ 39.22% +/-14.24% และมีความแม่นยำและความถูกต้องสูงสุดอยู่ที่ 38.95% 6) ตัวแบบการพยากรณ์ความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและการเกิดโรคความดันโลหิตสูง กรณีเป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่มีค่าความถูกต้องของโมเดลโดยรวมทุกคลาสสูงที่สุดคือ 93.00% +/-14.18% และมีค่าความแม่นยำของโมเดลสูงที่สุดคือ 92.63% คือตัวแบบช่วงอายุ 15-54 ปี และตัวแบบช่วงอายุ 15-60 ปี ตามลำดับ

พบปัจจัยที่ผลต่อการพยากรณ์ความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ดังต่อไปนี้ 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม คือ ปู่ พ่อ พี่น้อง (สายตรง) มีประวัติได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีการเจ็บป่วยด้วยโรคเก๊าท์ ย่า ยาย พ่อ มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน และย่า พี่น้อง (สายตรง) มีประวัติได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 2) ปัจจัยที่ส่งผลจากพฤติกรรม คือ การมีกิจกรรมนันทนาการ ระดับความหนักของกิจกรรม ระดับความหนักของกิจกรรมเกี่ยวกับการเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ระยะเวลาทำงานเฉลี่ยกี่วัน/สัปดาห์ การดื่มเครื่องดื่ม ชาเย็น กาแฟร้อน การรับประทาน ผัก ผลไม้ ชอบอาหาร รสหวาน รสจืด ชอบทานอาหารสำเร็จรูป และอาหารจานด่วน 3) ปัจจัยอื่น ๆ รายได้ (บาท/เดือน) ปัสสาวะเวลากลางคืน 3 ครั้งขึ้นไป (ก่อนนอนหรือตื่นขึ้นมาปัสสาวะระหว่างคืน) น้ำหนักลด/อ่อนเพลีย มีภาวะเครียดจนต้องพบแพทย์หรือรับประทานยา มีอาการเจ็บป่วยหรือต้องพบแพทย์ด้วยโรคตับอ่อนอักเสบ โรคไต และโรคหัวใจ มีผลตรวจคอเลสเตอรอล กรณีมีระดับ high density lipoprotein cholesterol (HDL-C) กรณีมีระดับคอเลสเตอรอลรวม (TC) กรณีมีระดับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride, TG) เป็นแผลที่ริมฝีปากบ่อยและหายยาก และมีแผลที่เท้าที่มีสาเหตุจากเบาหวาน

จากผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านเหมืองข้อมูล ด้านสาธารณสุข และผู้ใช้งานทั่วไป มีผลประเมินอยู่ในระดับดีทั้งหมด จึงสรุปได้ว่าระบบสารสนเทศการพยากรณ์ความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี

Abstract

The objectives of this research are for study and analyze factors of behavioral of the elderly in working age that causes to Diabetes,Hypertension and health effects when entering the elderly. To create a model for forecasting the risk of health effects. Using behavioral data on working age of the elderly population with health outcomes when entering the elderly with data mining techniques.Use this information for formation of information systems to forcasting the risk of  hypertension and diabetes. Also forcasting the health effects when entering the elderly. This system can work on the Internet through the web browser and also can work on a smartphone or tablet.

The result of this reserch are from the data were collected by interviewing the elderly population (aged 60 years and over) using 417 samples in urban areas. In Ubon Ratchathani, Si Sa Ket, Mukdahan, Yasothon and Amnat Charoen. By collecting general information about the respondent. Current health information and health behavior data for the working-age population of the elderly. The results are as follows.  Of all the interviewees, 79 cases diabetes mellitus, or 18.94%, among those with diabetes. (Diabetes without insulin) 39 cases accounted for 49.37%. Diabetes since childhood or birth. (Insulin-dependent diabetes) Three patients (3.80%) and 37 unknown (49.37%) were unaware. Of those with hypertension, 142 were 34.05% in the high blood pressure group. Secondary (High blood pressure with definite cause and cause), 61 cases accounted for 42.96% of primary hypertension. (High blood pressure caused by unknown cause) 34 cases accounted for 23.94% and 47 unknown cases accounted for 33.10% and found that diabetes and high blood pressure 55 cases, 13.19 out of the total number of interviewees. From the data that has been modeled with data mining techniques. 1) Diabetic risk prediction model. The age range of 15-44 years in the male data group was 81.99% +/- 11.19%. The accuracy of the model was found to be between 15-54 years old and older. 15- to 60-year-olds in all series The accuracy of the model was found to be 7.36% +/- 14.96% in the age group 15-34 years in the female group. The highest model accuracy is 14.04%. 2) What type of diabetes risk prediction model? Diabetes Found ages 15-54 years and 15-60 year-olds in the female group. The overall model accuracy was 96.67% +/- 10.00%, and both models had a maximum model accuracy of 96.55. For model accuracy, the highest value model was the model. Age range 15-34 years and 15-44 years in the female group. The accuracy of the model was 11.67% +/- 18.33% and was the model with the highest accuracy and accuracy of 10.34%. 3) Predictors of diabetes risk and disease incidence. High Blood Pressure Diabetes Models with the highest overall model accuracy were 15-34 year olds. The overall model accuracy was 93.00% +/- 10.77% and the accuracy of the model was 93.00% +/- 10.77%. Model 92.86% 4) Predictors of hypertension risk model The models with the highest overall model accuracy were 75.59% +/- 10.20%. The accuracy of the model was 15.36% +/- 16.01% and the accuracy and accuracy of the model was 25.00%. Is the age range 15-34 years in the male series. And the model with the highest model accuracy is The age range of 15-44 years and 15-54 years is 100% accuracy. 5) What type of risk prediction model of hypertension? Case of hypertension The models with the highest overall model accuracy were 75.71% +/- 15.31% and 75.71% +/- 23.20%, respectively, between the ages of 15-34 and 15-60 years. Female data respectively Both of the above models had the highest model accuracy of 78.81% +/- 24.29. The accuracy of the model was found to be highest in the age group of 15-54 years. Is 39.22% +/- 14.24% and has the highest accuracy and accuracy of 38.95%. 6) Predictors of diabetes risk and hypertension. Case of hypertension The highest model accuracy of all models was 93.00% +/- 14.18% and the highest model accuracy was 92.63 %. The model was aged 15-54 years and the 15- 60 years respectively

Factors influencing the predictors of diabetes risk and hypertension are as follows: 1) Genetic factors: Grandfather's father (direct line) has a history of being diagnosed by a physician as having an illness. With gypsies, grandmothers, grandparents with diabetes history and grandmother siblings (straight lines), history has been diagnosed by physicians as being sick with epilepsy. The high blood 2) Factors affecting the behavior is to have recreational activities. Activity level What is the weight of the trip activity? How many working days / week Drinking hot tea, hot coffee, eating fruits and vegetables like sweet food tastes like food. 3) Other Income Factor (Baht / Month) 3 times a night urine (before sleep or waking up urinate during the night) Weight Loss / Fatigue There is a stressful need to see a doctor or medication. Cholesterol levels are high in case of high density lipoprotein cholesterol (HDL-C), in case of total cholesterol (TC) level in case of triglyceride levels. (Triglyceride, TG) is a common ulcer and is difficult to heal. And foot ulcers caused by diabetes.

Based on the results of the assessment of the experts in the field of information technology. Data mining Public health And general users Has a good overall assessment. It is concluded that information systems, risk prediction, hypertension, and diabetes. Effective at a good level

 

 
แสดงข้อมูลกิจกรรมการวิจัย
No.
กิจกรรม
รายละเอียด
วันที่
ไฟล์
... ไม่มีข้อมูล ...