ระบบฐานข้อมูลหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
  Home > เพิ่มข้อมูลงานวิจัย
 

การเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีในจังหวัดอุบลราชธานี

 
   
ผู้วิจัย
1. ผศ.ดร.อดุลยเดช  ตันแก้ว
2. ผศ.พัชราวดี  กุลบุญญา
ชื่อโครงการวิจัย (EN)
ปีงบประมาณ
2565
งบประมาณ
1.00
แหล่งทุน
ส่วนตัว
ประเภททุนวิจัย
การวิจัยประยุกต์
สาขาการวิจัย
สาขาสังคมวิทยา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของนักศึกษาวิชาการบัญชีในจังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของนักศึกษาวิชาการบัญชีในจังหวัดอุบลราชธานี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาวิชาการบัญชีในจังหวัดอุบลราชธานี กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 320 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวย่างจากการเปรียบเทียบด้วยตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan (1970) โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัย เท่ากับ .800 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F  ผลการวิจัยพบว่า การเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของนักศึกษาวิชาการบัญชีในจังหวัดอุบลราชธานีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการยอมรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการรับรู้การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ตามลำดับ นักศึกษาที่มีเพศ อายุ และชั้นปีการศึกษาต่างกัน มีการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แตกต่างกัน โดยนักศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในด้านการยอมรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แตกต่างกัน  นักศึกษาที่มีอายุต่างกัน มีการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ในการรับรู้การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และด้านการยอมรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แตกต่างกัน โดยพบว่า นักศึกษาที่มีอายุ 18-21 ปี 22-25 ปี และ 26-30 ปี มีการเตรียมความพร้อมด้านการรับรู้การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แตกต่างกันทุกกลุ่ม  ส่วนนักศึกษาที่มีอายุ 26-30 ปี มีการเตรียมความพร้อมด้านการยอมรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แตกต่างกันจากนักศึกษาทั้งสองกลุ่ม คือนักศึกษาที่มีอายุ 18-21 ปี และ 22-25 ปี  ส่วน นักศึกษาที่มีชั้นปีต่างกัน มีการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ในการรับรู้การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แตกต่างกัน โดยพบว่า นักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3 มีการเตรียมความพร้อมด้านการรับรู้การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แตกต่างกันกับนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 4

Abstract

The purpose of this research was to study the preparation for the transition to artificial intelligence technology of accounting students in Ubon Ratchathani Province. and to compare the preparation for the change to artificial intelligence technology of accounting students in Ubon Ratchathani Province Classified by general information. The research population was Accounting students in Ubon Ratchathani Province The sample size of 320 people was determined using stratified random sampling by determining the sample size from the comparison with the ready-made table of Krejcie and Morgan (1970). The research instrument was a 5-level estimation scale questionnaire with the confidence of the research tool equal to .80. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test. The results showed that The overall preparation for the transformation into artificial intelligence technology among accounting students in Ubon Ratchathani Province was at a high level. When considering each aspect, in descending order of averages, was the aspect of adoption of the change to artificial intelligence technology. and perception of the change to artificial intelligence technology, respectively. Students of different sexes, ages, and academic years There are different preparations for the transition to artificial intelligence technology, by students of different sexes There are different preparations for the transition to artificial intelligence technology, students of different ages There is preparation for the transition to artificial intelligence technology. To recognize the change to artificial intelligence technology and the aspect of accepting the change to artificial intelligence technology is different, it was found that students aged 18-21 years, 22-25 years, and 26-30 years had different preparation for perceiving changes to artificial intelligence technology. For students aged 26-30, their preparation for accepting the transition to AI differed from those aged 18-21 and 22-25. For students with different years There is preparation for the transition to artificial intelligence technology. It was found that the 3rd year students were differently prepared for the perception of the transition to AI than the 1st year 2nd year and 4th year students.

 
แสดงข้อมูลกิจกรรมการวิจัย
No.
กิจกรรม
รายละเอียด
วันที่
ไฟล์
... ไม่มีข้อมูล ...