ระบบฐานข้อมูลหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
  Home > เพิ่มข้อมูลงานวิจัย
 

พฤติกรรมการจัดการขยะและแนวทางการจัดการขยะแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนพื้นที่เทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี-2

 
   
ผู้วิจัย
1. ผศ.ดร.อดุลยเดช  ตันแก้ว
2. รศ.ดร.ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช
3. รศ.ดร.อัยรดา พรเจริญ
ชื่อโครงการวิจัย (EN)
Waste management behaviors and waste management approaches with community participation, Ubon Ratchathani Municipality in Ubon Ratchathani
ปีงบประมาณ
2564
งบประมาณ
100,000.00
แหล่งทุน
Array
ประเภททุนวิจัย
การวิจัยประยุกต์
สาขาการวิจัย
สาขาสังคมวิทยา
บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของประชาชนในการจัดการขยะและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะในพื้นที่เทศบาลอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อหาแนวทางการจัดการขยะแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนพื้นที่เทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในชุมชนพื้นที่เทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี มี 106 ชุมชน  ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และแบบสะดวก การวิจัยเชิงคุณภาพ โดย ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) จำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมของประชาชนในการจัดการขยะด้านพฤติกรรมการลดการใช้ ด้านพฤติกรรมการใช้ซ้ำ และด้านพฤติกรรมการนำกลับมาใช้ใหม่มิอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะด้านระบบจัดการที่เหมาะสม ส่วนพฤติกรรมของประชาชนในการจัดการขยะด้านพฤติกรรมการลดการใช้และด้านพฤติกรรมการใช้ซ้ำมิอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะด้านการจัดการแบบศูนย์รวมและด้านแปรรูปพลังงาน แนวทางการจัดการขยะแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนพื้นที่เทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ด้านการลดการใช้ คือ เลือกใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ใช้ปินโตแทนกล่องโฟม และขยะที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนให้หยุดหรือลดการใช้ ด้านการใช้ซ้ำ คือ ใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าสำหรับใส่สินค้าดีกว่าใช้ถุงพลาสติก ใช้กระดาษให้ครบ 2 หน้า ใช้ภาชนะที่ใช้ซ้ำได้ และถุงพลาสติกที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ ด้านการนำกลับมาใช้ใหม่ คือ เศษกระดาษนำไปรีไซเคิลกลับมาใช้เป็นกล่องหรือถุงกระดาษ นำขยะอินทรีย์กลับมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำปุ๋ยหมัก เลือกซื้อสินค้าที่นำกลับมารีไซเคิลได้หรือที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล และแก้วน้ำพลาสติกที่ใช้แล้ว นำไปล้างแล้วกลับมาใช้ใหม่ ด้านระบบจัดการที่เหมาะสม คือ การฝังกลบตามหลักสุขาภิบาลใช้สำหรับขยะมูลฝอยหรือของเสียที่ไม่เป็นอันตราย การฝังกลบอย่างปลอดภัยใช้สำหรับฝังกลบกากของเสียที่ผ่านการทำลายฤทธิ์โดยปรับเสถียรแล้ว และทิ้งขยะให้ถูกถังขยะ ด้านการจัดการแบบศูนย์รวม คือ ระบบการคัดแยกขยะมูลฝอยด้วยเครื่องจักรทันสมัยร่วมกับการใช้แรงงานมนุษย์ ระบบการฝังกลบอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล และระบบกำจัดกลิ่นและระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรอบโครงการ ด้านแปรรูปผลิตพลังงาน คือ การเปลี่ยนของเสียให้เป็นก๊าซเชื้อเพลิง การนำของเสียมาหมักด้วยแบคทีเรียในสภาวะไร้อากาศเพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ประเภทแป้ง น้ำตาล และเซลล์โลสซึ่งเป็นองค์ประกอบในของเสีย ด้านความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน คือ  แนะนำเพื่อนบ้านให้คัดแยกขยะก่อนทิ้งเพื่อช่วยลกปริมาณขยะ ร่วมกิจกรรมการกำจัดขยะในชุมชนในการคัดแยกขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ก่อนทิ้ง และด้านนวัตกรรมการจัดการขยะ คือ การเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นพลังงาน ซึ้งเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่น่าสนใจ โดยสามารถนำขยะพลาสติกที่มีอยู่จำนวนมหาศาลมาแปรรูปให้เป็นพลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า นวัตกรรมอันไซคลีง เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรีไซเคิลแก้ปัญหาพลาสติกเหลือทั้งที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยเป็นการนำขยะมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

Abstract
The purpose of this research is threefold: (1) to study current conditions. And the problem. Development of Environmental Quality Case Study: Solid Waste Management in Bangkok Metropolitan Area (2) To study the factors affecting environmental quality improvement. Case study: Solid Waste Management in Bangkok area (3) Case study: Waste management in Bangkok area. To be more suitable.
The information used in this research comes from the literature. Group interview In-depth interviews And from the material. Qualitative data collected was analyzed using content analysis. Descriptive Lecture And narrative Analytical results revealed the truth. Include that. (1) Current situation and problematic conditions. Development of Environmental Quality Case Study: Waste Management in Bangkok Metropolitan Area. There is a waste management policy. In Bangkok area Accelerated development emphasizes people's participation in the reduction. 3R Reduce is used to reduce the use of waste. (2) Factors affecting the development of environmental quality: A case study of solid waste management in Bangkok area. Focus on adding Environmental Management has legal measures to manage solid waste, develop personnel involved in waste management. Zero waste management is a concrete practice. (3) Suggestions to improve factors affecting environmental quality development. Case study: Waste management in Bangkok area. The government should tackle the problem of solid waste. Based on these guidelines were: creating consciousness in waste management, participation in waste management, creating a waste management learning center, providing a prototype area for waste reduction in Bangkok area and development of innovative trash management system.
 
แสดงข้อมูลกิจกรรมการวิจัย
No.
กิจกรรม
รายละเอียด
วันที่
ไฟล์
... ไม่มีข้อมูล ...