การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา : ความหมาย

การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับผิดชอบโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้ แก่สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยส่วนรวม

ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา

  1. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) เป็นการวางแผนและดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพ ประกอบด้วย
    • การกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย วัตถุประสงค์ ปณิธานและการวางแผนปฏิบัติงาน
    • การแต่งตั้งคณะทำงานรับผิดชอบตามพันธกิจ
    • การกำหนดมาตรฐานที่มีผลต่อคุณภาพ
    • การกำหนดตัวบ่งชี้
    • การกำหนดเกณฑ์ตัดสินการตรวจสอบหรือการประเมินคุณภาพ
    • การดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพตามกระบวนการ P-D-C-A
    • การรวบรวมหลักฐานอ้างอิงตามกิจกรรมที่ทำเป็นรายตัวบ่งชี้
  2. การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit)

    เป็นการตรวจสอบผลการดำเนินงานตามหลักฐาน หรือร่องรอยของการดำเนินการตามแผนงาน เพื่อการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการตามแผนงานโดยสังเกตการปฏิบัติงานจริง สัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ การตรวจดูรายงานการตรวจสอบตนเอง (SSR) และรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ตลอดจนรายงานประจำปี

    • การตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor)
    • การตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ตรวจสอบภายนอก (External Auditor)
  3. การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment)
    • การประเมินคุณภาพภายใน โดยกัลยาณมิตรทางวิชาการภายในมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น บุคลากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Internal prereview)
    • การประเมินคุณภาพภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา : สมศ. (องค์การมหาชน) ซึ่งจะประเมินคุณภาพการศึกษาทุก 5 ปี

กระบวนการดำเนินงานประกันคุณภาพ

กระบวนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มี 6 ขั้นตอน คือ

  1. การเตรียมความพร้อมของบุคลากร
    • การสร้างความตระหนัก โดยเน้นให้บุคลากรได้เห็นความสำคัญและความจำเป็นตลอดจนคุณค่าของการประกันคุณภาพที่มีต่อตัวบุคคล ระบบ และมหาวิทยาลัยโดยส่วนรวม
    • พัฒนาความรู้และทักษะการประกันคุณภาพ โดยเน้นให้บุคลากรได้มีความรู้ความเข้าใจในความหมาย ขอบข่ายและระบบของการประกันคุณภาพ ตลอดจนทักษะการดำเนินงาน โครงการ กิจกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐาน (องค์ประกอบ) และดัชนีคุณภาพที่ต่อเนื่องและครบวงจร
    • การพัฒนาทีมในการปฏิบัติงาน เป็นความจำเป็นของระบบการประกันคุณภาพที่จะต้องปฏิบัติงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัยในรูปแบบการมีส่วนร่วม เช่น ทีมผู้สอน คณะกรรมการบริหารโปรแกรมวิชา คณะผู้วิจัย คณะกรรมการบริหารโครงการ องค์การนักศึกษา สโมสร ชุมนุม ชมรม ฯลฯ
  2. การพัฒนาระบบและกลไกดำเนินงาน
    เมื่อทุกคนในมหาวิทยาลัยได้ยอมรับว่าการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา เป็นภารกิจประจำของทุกคนที่จะต้องร่วมกันปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่คุณภาพ และมหาวิทยาลัยถือว่าการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัย ระบบและกลไกที่จะพัฒนาขึ้นนั้น ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นระบบและกลไกที่พัฒนาขึ้นจากภารกิจประจำของแต่ละบุคคลหรือมหาวิทยาลัยที่สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้น ตลอดจนมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของชาติ

    การพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพ เน้นการพัฒนาระบบจากวัฒนธรรมองค์กรเดิม ไปสู่วัฒนธรรมขององค์กรการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานคุณภาพกำกับ
    • จัดระบบโครงสร้างการบริหารองค์กร โดยเน้นการจัดโครงสร้างการบริหารที่เอื้อต่อการใช้ทรัพยากรทางการบริหารร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
    • จัดให้มีคณะบุคคลรับผิดชอบการปฏิบัติตามภารกิจปกติ ทั้งในระดับคณะ ศูนย์สำนักและมหาวิทยาลัย มีคณะกรรมการประกันคุณภาพระดับและมหาวิทยาลัย
    • จัดให้มีหน่วยงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ตรวจ ติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
    • จัดให้มีเจ้าหน้าที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานที่เอื้อต่อกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา

คุณภาพ

คุณภาพ (Quality) หมายถึง คุณลักษณะที่มีมาตรฐานสูง และตั้งใจ จะให้เกิดผลสัมฤทธิ์ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานนั้น โดยคำนึงถึงมิติของรูปแบบ (Style) คือ ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลสำเร็จอันน่าชื่นชมเท่านั้น แต่คำนึงถึงคุณลักษณะซึ่งทำให้เกิดผลสำเร็จด้วย

คุณภาพ (The American Heritage Dictionary of English) นิยามไว้ 4 ความหมาย คือ

  1. คุณลักษณะหรือคุณสมบัติ
  2. ลักษณะธรรมชาติหรือลักษณะที่จำเป็นของสิ่งต่างๆ
  3. ระดับของความเป็นเลิศ
  4. ตำแหน่งระดับสูงทางสังคม

กลไกลการควบคุมคุณภาพที่สำคัญ คือ หน่วยงาน/กระบวนการในการดำเนินงานและคณะกรรมการที่รับผิดชอบ การประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งอาจจะจัดตั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับคณะวิชา โดยมีบทบาทหน้าที่และความสัมพันธ์กับองค์กรอื่นๆภายในมหาวิทยาลัยตามระบบดังในแผนภูมิที่ 8

 

 

งานประกันคุณภาพ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000 โทร.045-352000-29 ต่อ 1300
This site is optimized for resolutions of 1024 x 768 or greater
:: Power by Quality Assurance ::